NFT Marketing คือ กลยุทธ์การตลาดรูปแบบใหม่ที่แบรนด์และภาคธุรกิจต่างๆทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่สามารถนำมาใช้ต่อยอดกิจการของตัวเองได้ แต่ก่อนที่จะเริ่มต้นเข้าสู่โลกของ NFT ลองทำตาม Checklist ทั้งหมดนี้ให้ชัดเจนเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนครั้งนี้จะไม่เสียเปล่า
ถ้ายังไม่เข้าใจ 3 ข้อนี้อย่าหาทำ
ก่อนจะเริ่มต้นสร้าง NFT ของตัวเองขอให้ตอบตัวเองให้ชัดเจนด้วยคำถามสามข้อนี้เสียก่อนหากไม่สามารถตอบตัวเองได้ชัดเจนแสดงว่าเรายังไม่มีความพร้อมที่จะเข้าสู่โลกของ NFT
ข้อแรก..ต้องการจับกลุ่มคนรุ่นใหม่หรือไม่ กลุ่มเป้าหมายหลักของผู้ใช้งาน NFT ก็คือกลุ่ม Gen Z ลงมา หรือพูดง่ายๆว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่นิยมใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์นั่นเอง ถ้าหากเราต้องการจับกลุ่มคนเหล่านี้ก็ถือว่ามาถูกทาง
ข้อสอง..มีทีมงานที่มีความรู้ความเข้าใจหรือไม่ NFT เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี Cryptocurrency และ Web3.0 ซึ่งจำเป็นต้องมีทีมงานหรือตัวผู้ก่อตั้งต้องมีความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีด้วยไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเข้าใจในหลักการทำงานได้
ข้อสาม..NFT ยังอยู่ในช่วง Early Stage กลุ่มผู้ใช้งาน NFT ยังมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เนตทั้งหมดและยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการนำมาใช้งานเท่านั้น จึงอย่าเพิ่งคาดหวังว่าจะมีจำนวนผู้ซื้อ NFT ของเราเทียบกับเท่าผู้ใช้งานในอินเทอร์เนตปัจจุบัน
หากรับได้กับความจริงสามข้อนี้ก็เตรียมตัวเข้าสู่โลกของ NFT ได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : NFT กับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ
ตอบเป้าหมายของตัวเองเสียก่อน
เมื่อตัดสินใจจะสร้าง NFT เป็นของตัวเองแล้วต้องเริ่มจากการตั้งเป้าหมายให้กับตัวเองก่อนว่าจะสร้าง NFT ขึ้นมาเพื่ออะไรจะได้กำหนดแนวทางในการเดินหน้าต่อไปหลักๆแล้วจะมีเป้าหมายในการสร้าง NFT ดังนี้
เพื่อเป็นสีสันการตลาด หากต้องการจะทำเพียงแค่เกาะกระแสเทคโนโลยีหรือเน้นสร้าง Awarness ให้กับแบรนด์โดยไม่เน้นว่าจะสร้างรายได้หรือไม่ เหตุผลเพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มต้นได้แล้ว
เพื่อสร้าง Community ของตัวเอง หากต้องการมากกว่าแค่สีสันแต่ทำไปเพื่อสร้าง Community เป็นของตัวเอง แบรนด์อาจจะต้องออกแรงมากขึ้นในการสร้างชุมชนผ๔้ใช้งาน แต่ยังคงคาดหวังกับผลตอบแทนในเชิงธุรกิจได้
รายได้เสริมให้กับธุรกิจดั้งเดิม หลังสามารถสร้าง Community ขึ้นมาได้ก็สามารถคาดหวังที่จะทำรายได้เสริมให้กับธุรกิจได้ โดยอาจจะต้องออกแบบสิทธิประโยชน์ต่างๆที่จะมีให้กับผู้ถือ NFT รวมถึงการ Bundle สินค้าที่มีในเครือให้กับผู้ถือ NFT
รายได้ใหม่ของบริษัท ถ้าหาก NFT ที่สร้างขึ้นได้รับความนิยมและ Community มีการเติบโตขึ้น ในที่สุด NFT ก็จะสามารถกลายเป็นรายได้ทางใหม่ของบริษัทได้ในที่สุด
เตรียมตัวสร้าง NFT ของตัวเอง
หลังจากที่ตั้งเป้าหมายให้กับตัวเองแล้วต่อไปคือเริ่มวางแผนสร้าง NFT ของตัวเองโดยสามารถเลือกได้สองรูปแบบคือ
ออกแบบ NFT ของตัวเอง กล่าวคือสร้างจากทีมออกแบบของตัวเองหรือจ้างออกแบบภายใต้คอนเซบท์ที่แบรนด์คิดขึ้นเองทั้งหมด
ไป Collaboration กับ NFT Collection อื่น คือการไปขอ Bundle กับ NFT Collection ที่มีอยู่แล้วโดยเป็นการเพิ่มแบรนด์ของตัวเองเข้าไป หากเป็นรูปแบบนี้อาจจะไม่ได้คอนเซบท์การออกแบบที่เป็นตัวตนของแบรนด์เอง แต่หากไป Bundle กับ NFT ที่ประสบความสำเร็จแล้วอาจจะประสบความสำเร็จได้เร็วกว่า
ทั้งนี้การออกแบบ NFT ของตัวเองควรต้องมีการใช้ Story Telling ที่สามารถสื่อสารเรื่องราวของแบรนด์ออกมาได้รวมถึงสไตล์การออกแบบสามารถเลือกได้ว่าจะสอดคล้องกับ CI ของแบรนด์หรือจะฉีกรูปแบบออกไปก็ได้
หลังจากเลือกได้แล้วว่าจะสร้าง NFT แบบไหนต่อไปมาดู Checklist ว่าเราต้องพิจารณาอะไรบ้าง
จำนวนชิ้นงาน จะผลิตออกมาจำนวนกี่ชิ้น จำนวนจำกัดหรือไม่และจะมีอยู่ด้วยกันกี่คอลเลคชั่น
แพลตฟอร์มในการซื้อขาย ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มของคนไทยหรือแพลตฟอร์มระดับ Global ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายหลัก
ราคา Floor Price หรือราคาเริ่มต้นของ NFT ที่เราเสนอขาย จากนั้นให้เราเลือกว่าจะตั้งราคาแบบ Fix Price หรือใช้ระบบการประมูลราคาที่จะมีผลทำใ้ราคาเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้
บล็อกเชนที่ใช้สร้าง ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องเลือกบล็อกเชนในการสร้าง NFT ให้ตรงกับเป้าหมายเพราะแต่ละบล็อกเชนจะมีคาแรกเตอร์ที่ต่างกัน เช่น ETH จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูง, SOL และ BNB จะเป็นกลุ่มรายได้ปานกลางเนื่องจากค่าธรรมเนียมการ Mint ต่ำ
สิทธิพิเศษสำหรับผู้จอง Whitelist หรือกลุ่มผู้ที่จองซื้อครั้งแรกเราอาจจะให้สิทธิพิเศษเช่นส่วนลด หรือ Collection พิเศษ
สิทธิพิเศษที่จะให้กับผู้ถือ NFT
อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องตีโจทย์ให้แตกก่อนที่จะสร้าง NFT ก็คือ Utility ที่จะมีให้กับผู้ถือ NFT ของเราโดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ด้วยกันดังนี้
Collection หรือ Profile Picture รูปแบบนี้ไม่มีอะไรมากไปกว่าการใช้เป็นของสะสมหรือเปลี่ยนภาพ Profile ในโซเชียลมีเดีย รูปแบบนี้หากออกแบบได้ไม่โดนจริงหรือไม่มีคนดังหนุนหลังอาจจะขายได้ยากเพราะใช้งานอย่างอื่นไม่ได้เลย
ขายพ่วงกับสินค้าและบริการ กล่าวคือเมื่อซื้อ NFT ไปแล้วจะแถมสินค้าและบริการอื่นๆให้ด้วยเพื่อจูงใจให้อยากเป็นเจ้าของ แทนที่จะได้แค่ไฟล์ดิจิทัล
พรีวิลเลจเช่นส่วนลดหรือสินค้าพิเศษที่ไม่ได้มีวางจำหน่ายทั่วไป เป็นการช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้กับการเป็นเจ้าของ NFT มากยิ่งขึ้นโดยการมอบสิทธิพิเศษที่หาซื้อไม่ได้ในรูปแบบปกติ
ใช้ร่วมกับ Metaverse หรือ dApps อื่นๆ ถ้าหากเรามีพันธมิตรที่เป็น GameFi หรือ Metaverse ก็สามารถนำ NFT ของเราซึ่งอาจจะถูกใช้เป็น Avatar หรือ Item ใน dApps ต่างๆได้ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับ NFT ของเราได้
การวางกลยุทธ์และโรดแมป
หลังจากที่สร้าง NFT ขึ้นมาแล้วต่อไปคือการวางแผนการทำตลาดเพื่อให้คอลเลคชั่นของเราเป็นทีรู้จักมากขึ้น
แผนการแจกจ่าย NFT ไม่ว่าจะเป็นการขายให้กับผู้สนใจ กลุ่มลูกค้าเดิมหรือพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ตลอดจน Influencer สาย NFT ที่ร่วมงานด้วย
โปรโมชั่นในช่วง Early Bird เพื่อที่จะดึงดูดให้เกิดความสนใจในการเป็นเจ้าของ NFT ของเราเช่นส่วนลดพิเศษหรืทอของแถมต่างๆ
การใช้ Social Media ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง Facebook หรือแพลตฟอร์มทางเลือกที่ชุมชนชาวคริปโตนิยมใช้อย่างเช่น Twitter,Telegram หรือ Discord
การทำงานร่วมกับ Community ต่างๆ เพื่อหาพารฺทเนอร์ที่จะร่วมงานกันในอนาคต
สุดท้ายคือการวางแผนงานในอนาคตที่จะต่อยอด NFT ของเราไม่ว่าจะเป็น
แผนการออก Collection ใหม่ เพื่อเพิ่มความสดใหม่ให้กับ NFT ของเรา
การสร้างสายสัมพันธ์กับ Community ไม่ว่าจะเป็นการจีดมีทติ้งหรือกิจกรรมต่างๆเพื่อสร้างสายสัมพันธ์ภายในกลุ่มผู้ถือ NFT มีความเหนี่ยวแน่นมากยิ่งขึ้น
การหาพาร์ทเนอร์ใหม่ เพื่อที่จะมาต่อยอด Utility ของ NFT ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง
ติดตามเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ เนื่องจาก NFT ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นจึงยังมีโอกาสจะเกิดเทคโนโลยีใหม่ได้เสมอจึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องหมั่นอัพเดตสิ่งใหม่เสมอ
NFT Marketing คือ โอกาสสำคัญของแบรนด์หรือธุรกิจที่จะปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยียุคใหม่และกลุ่มลูกค้าใหม่ บางแบรนด์อาจจะถือโอกาสนี้รีแบรนด์ตัวเองครั้งสำคัญได้เช่นกัน เมื่อทำตาม Check List ทั้งหมดนี้ได้แล้วก็ถึงเวลาที่จะต้องลงมือทำทันที
ศึกษาแนวทางการทำ NFT Marketing ด้วยคอร์สออนไลน์ “กลยุทธ์ Digital Marketing โดยใช้ NFT&Metaverse” สนใจคลิ๊กที่นี้