โทเคนดิจิทัล

กระแสตื่นตัวในการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในภาคธุรกิจทำให้ผู้ประกอบการหลายคนสนใจที่จะออก โทเคนดิจิทัล เป็นของตัวเองแต่ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาก็คือประเด็นเรื่องของข้อกฎหมายต่างๆ บทความนี้จะให้ความกระจ่างเบื้องต้นสำหรับกฎเกณฑ์ที่ผู้ประกอบการควรรู้

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : ทำไม Web3.0 จะเข้ามาปฎิวัติโลกอินเทอร์เนตและการลงทุน

ทำความรู้จักโทเคนดิจิทัลต่างจากสกุลเงินดิจิทัลอย่างไร

โทเคนดิจิทัลมีความแตกต่างจากสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ตรงที่โทเคนดิจิทัลถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจเป็นหลักและไม่ได้มีสถานะการเป็นสกุลเงินหรือสินทรัพย์การลงทุนเหมือนกับสกุลเงินดิจิทัล

ขณะเดียวกันสกุลเงินดิจิทัลอาจจะไม่ได้ปรากฎชื่อของผู้สร้างอย่างชัดเจนแต่โทเคนดิจิทัลจะปรากฎชื่อเจ้าของชัดเจนว่าเป็นองค์กรใดหรือบุคคลใดโดยสร้างขึ้นภายใต้เทคโนโลยีของ Cryptocurrency เช่นใช้โครงสร้างบล็อกเชนของ Ethereum ในการพัฒนาหรืออาจจะเป็นเชนใหม่ๆอย่าง BSC ของ Binance 

ต้องเป็นโทเคนดิจิทัลพร้อมใช้เท่านั้น

หลักเกณฑ์สำคัญที่ผู้ประกอบการที่จะออกโทเคนดิจิทัลต้องรู้คือโทเคนดังกล่าวจะต้องเป็น Utility Token ที่อ้างอิงกับโปรเจกต์หรือธุรกิจที่พร้อมใช้งานแล้วเท่านั้น กล่าวคือเวลาที่โทเคนดังกล่าวออกมาจะต้องพร้อมที่จะใช้งานกับโปรเจกต์หรือตัวธุรกิจทันที 

ตัวอย่างเช่นโทเคน A ระบุว่าสามารถนำมาแลกสินค้าและบริการได้เมื่อมีการเสนอขายโทเคนผู้ถือโทเคนจะสามารถนำไปใช้แลกสินค้าและบริการได้ทันทีซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวจะเรียกว่าโทเคนดิจิทัลพร้อมใช้

โทเคนดิจิทัล

ถ้าเข้าข่ายระดมทุนต้องผ่าน ICO Portal

ถ้าหากโทเคนดิจิทัลที่จะเสนอขายเข้าข่ายการระดมทุนหรือคุณสมบัติของโทเคนนั้นๆยังไม่สามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อมีการนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น ผู้ออกโทเคนเสนอขายโดยระบุว่าหลังจากที่มีผู้ซื้อโทเคนไปแล้วจะได้รับสิทธิตามที่ระบุภายในเวลา XXX หรือรอจนโปรเจกต์เสร็จสิ้นเสียก่อน

หากเป็นรูปแบบนี้ผู้สนใจจะออกโทเคนดิจิทัลจะต้องผ่านกระบวนการกับ ICO Portal ที่ได้รับการอนุมัติจากก.ล.ต. เท่านั้นเนื่องจากมีคุณสมบัติที่เข้าข่ายการเป็นหลักทรัพย์ซึ่งอาจจะต้องใช้ขั้นตอนในการพิจารณาจากทางก.ล.ต. ซึ่งต่างจากโทเคนดิจิทัลพร้อมใช้ซึ่งไม่จำเป็นต้องผ่านก.ล.ต.

ไม่มีสินทรัพย์อยู่เบื้องหลัง

โทเคนดิจิทัลอีกแบบหนึ่งที่จะต้องผ่านการรับรองจาก ก.ล.ต. ก็คือโทเคนประเภทที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ พันธบัตร ฯลฯ ซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้มีคุณสมบัติของการเป็นหลักทรัพย์ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการเก็นชอบจาก ก.ล.ต.

โดยสิ่งที่ผู้ถือโทเคนจะได้รับคือสิทธิประโยชน์ต่างๆที่สินทรัพย์เหล่านั้นสร้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นเงินปันผลผลตอบแทนหรือสิทธิการเป็นเจ้าของซึ่งต่างจาก Utility Token ซึ่งผู้ถือจะได้รับสิทธิพิเศษอย่างเช่นนำไปแลกสินค้าและบริการเท่านั้นโดยผู้ที่ต้องการออกโทเคนดิจิทัลประเภทนี้ต้องผ่านกระบวนการออกกับ ICO Portal

ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสกุลเงินบาท

แม้ว่าโทเคนดิจิทัลที่ออกมาจะมีคุณสมบัติในการใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้ แต่ไม่สามารถที่จะนำไปเปรียบเทียบหรือทดแทนสกุลเงินบาทได้เนื่องจากติดกฎเกณฑ์จากธนาคารแห่งประเทศไทยที่ไม่อนุญาติให้มีสกุลเงินอื่นที่เทียบเคียงกับเงินบาทได้เนื่องจากจะเป็นการสร้างระบบการเงินทับซ้อนสองระบบ

ทั้งสี่ข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญทางกฎหมายที่ผู้ประกอบการจะต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างดีก่อนที่จะตัดสินใจออกโทเคนดิจิทัลของตัวเองไม่เช่นนั้นอาจจะติดปัญหาข้อกฎหมายจนทำให้ธุรกิจติดขัดไปโดยไม่จำเป็น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ธุรกิจจะสร้างแบรนด์และรายได้จาก Metaverse ได้อย่างไร

Scroll to Top

โปรดเลือก Login ด้วย Facebook หรือ Google

หรือเข้าสู่ระบบด้วย Email